ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ประวัติ

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Nakhon Ratchasima Rajabhat University – University Business : NRRU-UBI

 

ข้อมูลองค์กร

            ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator) หรือ UBI เป็นความมุ่งมั่นของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ที่จะสร้างให้เกิดกลไกหลักในการนำผลงานวิจัย เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยออกสู่โลกแห่งความเป็นจริงทางธุรกิจ เพื่อก่อให้เกิดธุรกิจใหม่มีองค์ความรู้ในการดำเนินงาน โดยจะส่งผลให้ธุรกิจนั้นๆ เข้มแข็งและเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม

          ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (Nakhon Ratchasima Rajabhat University – University Business : NRRU-UBI) มีความพร้อมที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนแทนคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ในการสร้างธุรกิจใหม่ในรูปแบบของ Start-up Company   ซึ่งอาจเกิดจากการรวมตัวของนิสิตนักศึกษา ศิษย์เก่า อาจารย์ ที่มีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้ประกอบการ หรืออาจเกิดจากทางภาคเอกชนหรือบุคคลภายนอกที่เห็นศักยภาพของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ทางคณะต่างๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้นและอยากจะเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาผลงานวิจัยให้สามารถนำมาแข่งขันในเชิงธุรกิจก็เป็นได้ เนื่องจากกระบวนการในการบ่มเพาะ Start-up Company นั้น มีต้นทุนในการดำเนินงานครั้งแรกที่ค่อนข้างสูงทั้งในการจัดตั้งบริษัท การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และรวมไปถึงการทำตลาด NRRU-UBI จึงได้ทำการบ่มเพาะบริษัทที่จัดตั้งใหม่เหล่านี้อย่างเป็นระบบเพื่อลดต้นทุนการดำเนินการ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการรายใหม่ได้

          การบ่มเพาะของ NRRU-UBI นั้นจะใช้ความพร้อมทางด้านวิชาการและอาคารสถานที่ภายในมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมาเป็นสิ่งสนับสนุนเป็นหลัก ซึ่งกระบวนการบ่มเพาะจะดำเนินต่อไปจนกระทั่งเล็งเห็นว่าบริษัทที่อยู่ในความดูแลนั้นมีความเข้มแข็งทางธุรกิจเพียงพอและสามารถที่จะออกไปดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเองได้และเติบโตไปเป็นธุรกิจที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยอาจกล่าวได้ว่า NRRU-UBI นั้นเป็นกลไกและพลังขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการรายใหม่ไปสู่การทำธุรกิจอย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้เพื่อนำมาบูรณาการในเชิงพาณิชย์ที่สำคัญยิ่งของจังหวัดนครราชสีมาตลอดจนประเทศไทย

สัญลักษณ์

 

 

วิสัยทัศน์

            ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นผู้นำในด้านการบ่มเพาะผู้ประกอบการและเรียนรู้การดำเนินธุรกิจ โดยเป็นหน่วยงานที่เป็นที่พึ่งทางปัญญา เสริมสร้างคุณค่า ประสบการณ์ และโอกาสของการเป็นผู้ประกอบการใหม่ให้แก่นิสิตนักศึกษา บุคลากร ตลอดจนชุมชนที่มีศักยภาพและความมุ่งมั่นที่ทำธุรกิจและก้าวไปสู่เวทีการค้าในระดับสากล

 

พันธกิจ

  1. บริการด้านการฝึกอบรม บ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการ
  2. บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจแก่ผู้เข้าร่วมการบ่มเพาะตลอดจนชุมชนในท้องถิ่น
  3. บริการให้ความช่วยเหลือประสานงานในการก่อตั้งธุรกิจใหม่แก่ผู้ประกอบการ
  4. สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจแบบครบวงจรให้กับผู้ประกอบการรายใหม่
  5. สนับสนุนงานวิจัยเพื่อพัฒนาและต่อยอดและนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
  6. สร้างเครือข่ายสถาบันวิจัยทางวิสาหกิจตลอดจนการเป็นแหล่งฝึกหัดประสบการณ์ด้านทักษะวิชาชีพ

 

วัตถุประสงค์

  1. สร้างความตระหนักให้แก่นิสิตนักศึกษา บุคลากรและคณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาศักยภาพของตนตลอดจนสร้างแรงจูงใจในการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่
  2. ส่งเสริมการนำผลงานวิจัย การพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี และศักยภาพในเชิงวิชาการของมหาวิทยาลัยมาเชื่อมต่อกับโลกธุรกิจเพื่อเป็นการนำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการรายใหม่
  3. ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษา บุคลากร และชุมชนเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมที่ศูนย์บ่มเพาะฯ จัดขึ้น
  4. เสริมสร้างและบ่มเพาะผู้ประกอบการให้พัฒนาขีดความสามารถของตนเองเพื่อใช้ในการแข่งขันทางธุรกิจและการเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง

 

กลุ่มเป้าหมาย

  1. บุคคลที่มีความต้องการและมุ่งมั่นในการทำธุรกิจและต้องการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่
  2. นักศึกษา บัณฑิต บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ตลอดจนประชาชนและชุมชนในพื้นที่การให้บริการของมหาวิทยาลัย ที่มีวิสัยทัศน์ที่ดีในการดำเนินธุรกิจ
  3. คณาจารย์ / นักวิชาการ ที่มีผลงานวิจัยที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้

 

เป้าหมายโครงการ

  1. สร้างผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางรายใหม่ที่มีศักยภาพ
  2. ทำให้เกิดแหล่งความร่วมมือจากเครือข่ายวิสาหกิจภายในกลุ่มผู้ที่เข้าร่วมการบ่มเพาะ
  3. เพิ่มช่องทางของแหล่งวิจัยทางธุรกิจรวมถึงแหล่งทุนเพื่อดำเนินการโครงการได้อย่างยั่งยืน
  4. เสริมสร้างและพัฒนาวิทยากรที่มาจากผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จเพื่อใช้เป็นแบบอย่างให้กับผู้เข้ารับการบ่มเพาะในรุ่นต่อไป
  5. เกิดแหล่งสถานที่ศึกษาดูงาน รวมไปถึงสถานที่ฝึกประสบการณ์ด้านวิชาชีพให้กับนักศึกษาปัจจุบันของมหาวิทยาลัย

 

วันที่เผยแพร่ 28 สิงหาคม 2563
ผู้เผยแพร่ adminweb